College of Nursing มหาวิทยาลัยคริสเตียน
สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯโดยมติคณะกรรมการอํานวยการในการประชุมครั้งที่๙/๒๕๔๖วันที่๒๖กันยายน๒๕๔๖ให้การรับรอง จรรยาบรรณพยาบาล ฉบับพ.ศ. ๒๕๔๖ที่ได้ปรับปรุงแก้ไขจากจรรยาบรรณวิชาชีพการพยาบาลที่ได้ประกาศใช้เป็นฉบับแรกในพ.ศ. ๒๕๒๘จึงขอประกาศใช้จรรยาบรรณพยาบาลฉบับพ.ศ. ๒๕๔๖ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ข้อที่๑ พยาบาลรับผิดชอบต่อประชาชนผู้ต้องการการพยาบาลและบริการสุขภาพพยาบาลรับผิดชอบต่อประชาชนผู้ต่องการการพยาบาลและบริการสุขภาพทั้งต่อปัจเจกบุคคลครอบครัวชุมชนและระดับประเทศในการสร้างเสริมสุขภาพการป้องกันความเจ็บป่วยการฟื้นฟูสุขภาพและการบรรเทาความทุกข์ทรมาน
ข้อที่ ๒ พยาบาลประกอบวิชาชีพด้วยความเมตตากรุณาเคารพในคุณค่าของชีวิตความมีสุขภาพดีและความผาสุกของเพื่อนมนุษย์พยาบาลประกอบวิชาชีพด้วยความเมตตากรุณาเคารพในคุณค่าของชีวิตความมีสุขภาพดีและความผาสุกของเพื่อนมนุษย์ช่วยให้ประชาชนดํารงสุขภาพไว้ในระดับดีที่สุดตลอดวงจรของชีวิตนับแต่ปฏิสนธิทั้งในภาวะสุขภาพปกติภาวะเจ็บป่วยชราภาพจนถึงระยะสุดท้ายของชีวิต
ข้อที่ ๓ พยาบาลมีปฏิสัมพันธ์ทางวิชาชีพกับผู้ใช้บริการผู้ร่วมงานและประชาชนด้วยความเคารพในศักดิ์ศรีและสิทธิมนุษยชนของบุคคลพยาบาลมีปฏิสัมพันธ์ทางวิชาชีพกับผู้ใช้บริการผู้ร่วมงานและประชาชนด้วยความเคารพในศักดิ์ศรีและสิทธิมนุษยชนของบุคคลทั้งในความเป็นมนุษย์สิทธิในชีวิตและสิทธิในเสรีภาพเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวการพูดการแสดงความคิดเห็นการมีความรู้การตัดสินใจค่านิยมความแตกต่างทางวัฒนธรรมและความเชื่อทางศาสนาตลอดจนสิทธิในความเป็นเจ้าของและความเป็นส่วนตัวของบุคคล
ข้อที่ ๔ พยาบาลยึดหลักความยุติธรรมและความเสมอภาคในสังคมมนุษย์พยาบาลยึดหลักความยุติธรรมและความเสมอภาคในสังคมมนุษย์ร่วมดําเนินการเพื่อช่วยให้ประชาชนที่ต้องการบริการสุขภาพได้รับความช่วยเหลือดูแลอย่างทั่วถึงและดูแลให้ผู้ใช้บริการได้รับการช่วยเหลือที่เหมาะสมกับความต้องการอย่างดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ด้วยความเคารพในคุณค่าของชีวิตศักดิ์ศรีและสิทธิในการมีความสุขของบุคคลอย่างเท่าเทียมกันโดยไม่จํากัดด้วยชั้นวรรณะเชื้อชาติศาสนาเศรษฐานะเพศวัยกิตติศัพท์ชื่อเสียงสถานภาพในสังคมและโรคที่เป็น
ข้อที่ ๕ พยาบาลประกอบวิชาชีพโดยมุ่งความเป็นเลิศพยาบาลประกอบวิชาชีพโดยมุ่งความเป็นเลิศปฏิบัติการพยาบาลโดยมีความรู้ในการกระทําและสามารถอธิบายเหตุผลได้ในทุกกรณีพัฒนาความรู้และประสบการณ์อย่างต่อเนื่องรักษาสมรรถภาพในการทํางานประเมินผลงานและประกอบวิชาชีพทุกด้านด้วยมาตรฐานสูงสุดเท่าที่จะเป็นไปได้
ข้อที่ ๖ พยาบาลพึงป้องกันอันตรายต่อสุขภาพและชีวิตของผู้ใช้บริการพยาบาลพึงป้องกันอันตรายต่อสุขภาพและชีวิตของผู้ใช้บริการโดยการร่วมมือประสานงานอย่างต่อเนื่องกับผู้ร่วมงานและผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายทุกระดับเพื่อปฏิบัติให้เกิดผลตามนโยบายและแผนพัฒนาสุขภาพและคุณภาพชีวิตของประชาชนพึงปฏิบัติหน้าที่รับมอบหมายงานและมอบหมายงานอย่างรอบคอบและกระทําการอันควรเพื่อป้องกันอันตรายซึ่งเห็นว่าจะเกิดกับผู้ใช้บริการแต่ละบุคคลครอบครัวกลุ่มหรือชุมชนโดยการกระทําของผู่ร่วมงานหรือสภาพแวดล้อมของการทํางานหรือในการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีขั้นสูง
ข้อที่ ๗ พยาบาลรับผิดชอบในการปฏิบัติให้สังคมเกิดความเชื่อถือไว้วางใจต่อพยาบาลและต่อวิชาชีพการพยาบาลพยาบาลรับผิดชอบในการปฏิบัติให้สังคมเกิดความเชื่อถือไว้วางใจต่อพยาบาลและต่อวิชาชีพการพยาบาลมีคุณธรรมจริยธรรมในการดํารงชีวิตประกอบวิชาชีพด้วยความมั่นคงในจรรยาบรรณและเคารพต่อกฎหมายให้บริการที่มีคุณภาพเป็นวิสัยเป็นที่ประจักษ์แก่ประชาชนร่วมมือพัฒนาวิชาชีพให้เจริญก้าวหน้าในสังคมอย่างเป็นเอกภาพตลอดจนมีมนุษยสัมพันธ์อันดีและร่วมมือกับผู้อื่นในกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมทั้งในและนอกวงการสุขภาพในระดับท้องถิ่นระดับประเทศและระหว่างประเทศ
ข้อที่ ๘ พยาบาลพึงร่วมในการทําความเจริญก้าวหน้าให้แก่วิชาชีพการพยาบาลพยาบาลพึงร่วมในการทําความเจริญก้าวหน้าให้แก่วิชาชีพการพยาบาลร่วมเป็นผู้นําทางการปฏิบัติการพยาบาลหรือทางการศึกษาทางการวิจัยหรือทางการบริหารโดยร่วมในการนําทิศทางนโยบายและแผนเพื่อพัฒนาวิชาชีพพัฒนาความรู้ทั้งในขั้นเทคนิคการพยาบาลทฤษฎีขั้นพื้นฐานและศาสตร์ทางการพยาบาลขั้นลึกซึ้งเฉพาะด้านตลอดจนการรวบรวมและเผยแพร่ความรู้ข่าวสารของวิชาชีพทั้งนี้พยาบาลพึงมีบทบาททั้งในระดับรายบุคคลและร่วมมือในระดับสถาบันองค์กรวิชาชีพระดับประเทศและระหว่างประเทศ
ข้อที่ ๙ พยาบาลพึงรับผิดชอบต่อตนเองเช่นเดียวกับรับผิดชอบต่อผู้อื่นพยาบาลพึงรับผิดชอบต่อตนเองเช่นเดียวกับรับผิดชอบต่อผู้อื่นเคารพตนเองรักษาความสมดุลมั่นคงของบุคลิกภาพเคารพในคุณค่าของงานและทํางานด้วยมาตรฐานสูงทั้งในการดํารงชีวิตส่วนตัวและในการประกอบวิชาชีพในสถานการณ์ที่จําเป็นต้องเสียสละหรือประนีประนอมพยาบาลพึงยอมรับในระดับที่สามารถรักษาไว้ซึ่งความเคารพตนเองความสมดุลในบุคลิกภาพและความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตของตนเช่นเดียวกับของผู้ร่วมงานผู้ใช้บริการและสังคม
เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของอาจารย์ด้านการสอนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล สมศักดิ์ศรีแห่งวิชาชีพอาจารย์ที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการถ่ายทอดความรู้เพื่อสร้างทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพและคุณธรรม อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 43 แห่งพระราชบัญญัติสถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ. 2546 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550 มหาวิทยาลัยคริสเตียนจึงเห็นสมควรประกาศจรรยาบรรณอาจารย์มหาวิทยาลัยคริสเตียน ดังนี้
1. อาจารย์พึงดำรงตนให้เป็นแบบอย่างที่ดีแก่นักศึกษาและบุคคลทั่วไป ทั้งด้านส่วนตัว และการงาน
2. อาจารย์พึงสอนนักศึกษาอย่างเต็มความสามารถด้วยความบริสุทธิ์ใจ ช่วยเหลือและปฏิบัติต่อนักศึกษาอย่างมีเมตตา เป็นธรรม และไม่ลงโทษด้วยการทำร้ายร่างกายและจิตใจนักศึกษา
3. อาจารย์พึงปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบ เสียสละ อดทน ซื่อสัตย์ สุจริต กอปรด้วยคุณธรรมและจริยธรรม
4. อาจารย์พึงหมั่นศึกษา ค้นคว้า ติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการให้ทันสมัยอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา
5. อาจารย์พึงปฏิบัติงานโดยมีเสรีภาพทางวิชาการ ไม่ถูกครอบงำด้วยอิทธิพลหรือผลประโยชน์ใด
6. อาจารย์พึงเป็นนักวิจัยที่มีจรรยาบรรณของนักวิจัยตามประกาศมหาวิทยาลัยคริสเตียน ว่าด้วย จรรยาบรรณของผู้วิจัย มหาวิทยาลัยคริสเตียน
7. อาจารย์พึงปฏิบัติต่อเพื่อนร่วมงานเยี่ยงกัลยาณมิตร ช่วยเหลือ ส่งเสริมและ เกื้อกูลซึ่งกันและกัน
8. อาจารย์พึงสร้างและส่งเสริมความสามัคคีในหมู่คณะ และมีส่วนร่วมในการพัฒนามหาวิทยาลัย
9. อาจารย์พึงปฏิบัติตนด้วยความรับผิดชอบต่อผู้อื่น สังคม และประเทศชาติ
ชื่อ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุปราณี แตงวงษ์
วุฒิการศึกษา
ความเชี่ยวชาญ
ผลงานวิชาการที่เผยแพร่
ชื่อ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พันเอกหญิง ดร.นงพิมล นิมิตรอานันท์
วุฒิการศึกษา
ความเชี่ยวชาญ
ผลงานวิชาการที่เผยแพร่
ปีการศึกษา 2561
1) นงพิมล นิมิตรอานันท์ ศศิธร รุจนเวช และ จุฑารัตน์ ผู้พิทักษ์กุล. (2562). รูปแบบการสื่อสารความเสี่ยงทางสุขภาพโรคหลอดเลือดสมองตามมิติวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ไทยทรงดำ: กรณีศึกษาชุมชนสะแกราย จังหวัดนครปฐม. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 27(2) (เมษายน–มิถุนายน),80-92.
2) อุษา ตันทพงษ์ นงพิมล นิมิตรอานันท์ และ ศศิธร รุจนเวช. (2562). ปัจจัยคัดสรรที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อมชนิดปฐมภูมิของครูในจังหวัดนครปฐม. วารสารพยาบาลทหารบก, 20(2) (พฤษภาคม-สิงหาคม),316-326.
วิทยานิพนธ์
3) ภาวินี กุลษรเวทย์ สุธีรา ฮุ่นตระกูล และ นงพิมล นิมิตรอานันท์. (2561). ผลของโปรแกรมการเสริมพลังในการป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อมชนิดปฐมภูมิในอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านที่มีภาวะเสี่ยงโรคข้อเข่าเสื่อมที่ชุมชนแห่งหนึ่งในจังหวัดเพชรบุรี. วารสารแพทย์นาวี,45(3),578-598.[TCIกลุ่ม 1]
4) ดุจนฤภา ภาคปิยวัชร์ สุธีรา ฮุ่นตระกูล และ นงพิมล นิมิตรอานันท์. (2561). ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองด้านการใช้ยาอย่างเคร่งครัดในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ที่คลินิกเอกชนแห่งหนึ่งในจังหวัดปทุมธานี. วารสารแพทย์นาวี, 45(2), 377-398. [TCI กลุ่ม 1]
5) สุพัตรา เชาว์ไวย นงพิมล นิมิตรอานันท์ และ ศศิธร รุจนเวช. (2562). ผลของโปรแกรมการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 รายใหม่ในชุมชน. วารสารโรงพยาบาลชลบุรี, 44(1), 25-34. [TCI กลุ่ม 1]
6) วิราพร สืบสุนทร นงพิมล นิมิตรอานันท์ และ ศศิธร รุจนเวช. (2562). ผลของโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะของตนต่อพฤติกรรมการป้องกันการหกล้ม และสมรรถนะทางกายของผู้สูงอายุในชุมชน. วารสารโรงพยาบาลชลบุรี, 44(2), 119-129. [TCI กลุ่ม 1]
ปีการศึกษา 2562
7) นงพิมล นิมิตรอานันท์ วิชุดา กลิ่นหอม และ ฐิติมา หมอทรัพย์. (2563). การเสริมพลังชุมชน: มโนทัศน์และการประยุกต์ในการปฏิบัติการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ,14(1), (มกราคม-เมษายน) 13–23.
8)นงพิมล นิมิตรอานันท์ วิชุดา กลิ่นหอม เจือจันทร์ วัฒกีเจริญ และ ชลทิพย์ ทิพย์แก้ว. (2563). การพัฒนารูปแบบการป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุแบบมีส่วนร่วมของชุมชน. วารสารพยาบาลทหารบก, 21(2) พฤษภาคม-สิงหาคม,389-399.
วิทยานิพนธ์
9) กัญญาภัทธ ปราบริปู, ศศิธร รุจนเวช และ นงพิมล นิมิตรอานันท์. (2563). ผลของโปรแกรมการจัดการอาการต่อความรุนแรงของโรคและพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงโรคข้อเข้าเสื่อมชนิดปฐมภูมิ. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ. 14(1), 1-13, (มกราคม–เมษายน 2563). (TCI 2)
ปีการศึกษา 2563
10) นงพิมล นิมิตรอานันท์ สุพัตรา เชาว์ไวย และ วิราพร สืบสุนทร. (2563). การออกกำลังกายแบบก้าวตามตารางเพื่อป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุในชุมชน: การวิเคราะห์วรรณกรรม. วารสารแพทย์นาวี, 48(1),23-36. มกราคม-เมษายน. [TCI กลุ่ม 1]
รางวัลที่ได้รับ
ชื่อ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ศศิธร รุจนเวช
วุฒิการศึกษา
ความเชี่ยวชาญ
ผลงานวิชาการที่เผยแพร่
รางวัลที่ได้รับ
ชื่อ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ศากุล ช่างไม้
วุฒิการศึกษา
ผลงานวิชาการที่เผยแพร่
ชื่อ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ทิพา ต่อสกุลแก้ว
วุฒิการศึกษา
ความเชี่ยวชาญ
ผลงานวิชาการที่เผยแพร่
อาจารย์ พันตำรวจเอกหญิง ดร.กิตติยา ชัชวาลชาญชนกิจ
วุฒิการศึกษา
1. ปร.ด.(การจัดการ) มหาวิทยาลัยสยาม
2. บธ.ม.(การจัดการ) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
3. พย.บ. วิทยาลัยพยาบาลตำรวจ
อาจารย์ สุพาพร ศิริผึ้ง
วุฒิการศึกษา
1. บธ.ม. (การจัดการทั่วไป) มหาวิทยาลัยรามคำแหง
2. บริหารธุรกิจบัณฑิต (อุตสาหกรรมการบริการ)มหาวิทยาลัยรามคำแหง
อาจารย์ เสาวลักษณ์ นัทธีศรี
วุฒิการศึกษา
1. กจ.ม. (การบริหารรัฐกิจ) มหาวิทยาลัยคริสเตียน
2. ศศ.บ. (การพัฒนาชุมชน) มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
วท.บ.(กายภาพบำบัด) มหาวิทยาลัยมหิดล
วท.ม.(กายภาพบำบัด) มหาวิทยาลัยมหิดล
วท.บ.(กายภาพบำบัด) มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
ปร.ด.(ประสาทวิทยาศาสตร์) มหาวิทยาลัยขอนแก่น
วท.บ.(กายภาพบำบัด) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
วท.ม. (สรีรวิทยา) มหาวิทยาลัยมหิดล